Learning Space Incubation support

image

กิจกรรมนี้เป็นหนึ่งในระบบสนันสนุนของโปรแกรมบ่มเพราะพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน (Learning Space Incubation 2023) ซึ่งออกแบบกิจกรรมตามความต้องการของทีม/องค์กร ในโปรแกรมฯ เพื่อช่วยสนับสนุนทีมให้สามารถเริ่มต้นขยายและสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่การเรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนได้

กิจกรรมนี้จึงเหมาะกับ ผู้ที่อยู่ระหว่างการเข้าร่วมโปรแกรมฯ และเครือข่ายพื้นที่เรียนรู้ สสส. สำนัก 4 ที่สนใจเริ่มต้นขยายผลและสร้างความยั่งยืนให้กับพื้นที่เรียนรู้ของตนเอง

หัวข้อกิจกรรมสนับสนุนพื้นที่เรียนรู้เพื่อขยายผลและสร้างความร่วมมือกับภาคธุรกิจและภาคปกครองส่วนท้องถิ่น 2023 กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม

กิจกรรม

1.workshop เรียนรู้การจัดการ 'เวลา'เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง 5 กรกฏาคม 2566 19.00-21.00 น. ทาง Zoom Meeting

image

‘เวลา’ เป็นความท้าทายสำคัญในงานสร้างความเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขปัญหาสังคมเป็นงานที่ซับซ้อน และต้องอาศัยเวลา นักเปลี่ยนแปลงหลายคนทำงานเกือบทุกวันในหนึ่งสัปดาห์ แต่งานก็ยังไม่ลุล่วงดั่งใจตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ บางคนทำงานจนไม่มีเวลาออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ ทานข้าวไม่ตรงเวลา ทำให้สุขภาพไม่แข็งแรง ทักษะการจัดการเวลาจึงเป็นตัวช่วยสำคัญให้นักสร้างการเปลี่ยนแปลง บริหารจัดการเวลาเพื่อให้เกิดงานที่สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างยืนระยะได้อย่างยั่งยืน และมีสุขภาวะที่ดีในการทำงาน

กิจกรรมนี้เป็น online workshop ที่ชวนพี่ๆน้องๆในโปรแกรมบ้มเพาะพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนและเพื่อนๆเครือข่ายพื้นที่เรียนรู้ สสส. สำนัก 4 มาร่วมเรียนรู้ ทักษะบริหารจัดการเวลา (Time Management Skill) โดยใช้เวลา 2 ชม.

สิ่งที่ผู้เข้าร่วมจะได้รับ

  • เรียนรู้ทักษะบริหารจัดการเวลา (Time Management Skill)
  • รู้จักและทดลองใช้เครื่องมือที่เป็นตัวช่วยจัดการเวลา (Eisenhower Box, Google Calendar)

กิจกรรมนี้เหมาะกับ

  • คนที่ต้องทำงานหลายโครงการ หลายกิจกรรมในเวลาเดียวกัน
  • คนที่อยากจัดระบบชีวิตทำงานของตัวเองให้เป็นระบบมากขึ้น
  • คนที่รู้สึกชีวิตงานปัจจุบันวุ่นวาย ยุ่งเหยิง จัดการไม่ได้
  • คนที่อยากมีเวลาทำงานหรือทำอย่างอื่นมากขึ้น

กำหนดการ

19.00 - 19.20 น. เปิดงานและกิจกรรมทำความรู้จักกัน

19.20 - 20.00 น. ทักษะบริหารจัดการเวลา (Time Management Skill)

20.00 - 20.40 น. เครื่องมือเพื่อช่วยจัดการเวลา Eisenhower Box และ Google Calendar

20.40 - 21.00 น. สะท้อนการเรียนรู้และกล่าวปิดกิจกรรม

รับไม่เกิน 30 คน

กรอกใบสมัครเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ - 4 กรกฏาคม 66

2.workshop การถอดหลักสูตรเพื่อการขยายผลพื้นที่เรียนรู้ 8 กรกฎาคม 2566 9-11.00 น. ทาง Zoom Meeting

image

online workshop นี้สำหรับทีมหรือองค์กรที่มีประสบการณ์การสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีมาระยะนึง และอยู่ในช่วงที่ต้องการจะถอดความรู้การสร้างพื้นที่เรียนรู้ของตนเองเป็นหลักสูตร เพื่อเตรียมพร้อมขยายผลให้องค์กร บุคคล หรือพื้นที่อื่นๆ ได้นำเอาเนื้อหาและวิธีการจัดกิจกรรมที่เราพัฒนาขึ้นมาไปทำซ้ำได้ ทำให้งานการสร้างพื้นที่ของเราได้สร้างประโยชน์ให้กับเด็กและเยาวชนในวงกว้าง

เนื้อหาของ workshop นี้คือการทำความเข้าใจองค์ประกอบและขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้เครื่องมือ Curriculum Development Canvas เพื่อตั้งเป้าหมาย วางกรอบแนวคิดและภาพรวมการพัฒนาหลักสูตรเพื่อทำแผนและลงมือถอดความรู้เพื่อพัฒนาเป็นหลักสูตรการต่อไป

กำหนดการ

9.00-9.10 น. แนะนำกระบวนการและกำหนดการ

9.10-9.20 น. แนะนำผู้เข้าร่วม และหลักสูตรที่แต่ละทีมอยากถอด

9.20-9.40 น. แนะนำเครื่องมือการพัฒนาหลักสูตร Curriculum Development

Canvas และรูปแบบหลักสูตรที่น่าสนใจ

9.40-10.10 น. แต่ละทีม ระบุกลุ่มเป้าหมายและเป้าหมายหลักสูตร

10.10-10.40 น. แต่ละทีม ระบุเนื้อหา วิธีการเรียนรู้ และการวัด/ประเมินผล

10.40-11.00 น. ถามตอบและขั้นตอนต่อไปในการถอดหลักสูตร

คำถามที่ต้องเตรียมก่อนกรอกใบสมัคร

  1. คุณมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมหรือสร้างการเรียนรู้ที่ต้องการถอดหลักสูตรใด
  2. คุณมีประสบการณ์การดำเนินงานกิจกรรมที่ต้องการถอดหลักสูตรนั้นมาเป็นเวลา ….. ปี
  3. เหตุผลในการถอดหลักสูตรของคุณคือ
  4. ชื่อหลักสูตรที่ต้องการพัฒนา
  5. ความโดดเด่น/พิเศษของหลักสูตรคือ (มีการพัฒนาต่อยอดจาก… หรือเป็นหลักสูตรที่คุณพัฒนาเอง)
  6. ระบุกลุ่มเป้าหมายโดยตรงที่คุณจะถอดหลักสูตรไปทำงานด้วย คือ
  7. ปัญหาหรือต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่คุณจะถอดหลักสูตรให้ คือ

กรอกใบสมัครเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ - 5 กรกฏาคม 66

3. workshop การพัฒนาเครื่องมือเพื่อการขยายผลพื้นที่เรียนรู้ 22 กรกฎาคม 2566 9.00 -11.00 น. ทาง Zoom Meeting

image

online workshop นี้สำหรับทีมหรือองค์กรที่มีประสบการณ์การทำกิจกรรมในพื้นที่เรียนรู้ และอยู่ในช่วงที่ต้องการจะถอดประสบการณ์การทำกิจกรรมนั้น ออกมาเป็นเครื่องมือ (tool) หรือชุดเครื่องมือ (toolkit) ซึ่งจะเป็นตัวช่วยการเรียนรู้ ที่ออกแบบมาให้ผู้เรียนได้ใช้ทำความเข้าใจแนวคิด ไอเดีย หรือกระบวนการ ในเรื่องใดเรื่องนึงโดยเฉพาะ โดยให้ผู้เรียนได้คิด วางแผน หรือตัดสินใจไปทีละขั้น โดยรูปแบบของเครื่องมืออาจจะออกมาในรูปแบบเอกสารประกอบกิจกรรม แบบฝึกหัด หรือการ์ดเกม เป็นต้น เพื่อพัฒนางานการสร้างพื้นที่ให้เป็นระบบ มีมาตรฐาน และอาจเพื่อเตรียมพร้อมขยายผล

เนื้อหาของ workshop นี้คือการทำความเข้าใจกรอบแนวคิดและขั้นตอนการพัฒนาเครื่อมือ เพื่อให้ทีมสามารถเห็นภาพรวมการทำเครื่องมือ ตั้งเป้าหมาย และเห็นแผนคร่าวๆ ในการพัฒนาเครื่องมือต่อไปได้

กำหนดการ

9.00-9.10 น. แนะนำกระบวนการและกำหนดการ

9.10-9.20 น. แนะนำผู้เข้าร่วม และเครื่องมือที่แต่ละทีมอยากถอด

9.20-9.40 น. แนะนำกรอบแนวคิดและกระบวนการการพัฒนาเครื่องมือ ตัวอย่างเครื่องมือแบบต่างๆ

9.40-10.10 น. แต่ละทีม ระบุกรอบแนวคิดเครื่องมือของตนเองเบื้องต้น

10.10-10.40 น. แชร์กับกลุ่มย่อย

10.40-11.00 น. ถามตอบและขั้นตอนต่อไปในการพัฒนาเครื่องมือ

คำถามที่ต้องเตรียมก่อนกรอกใบสมัคร

  1. คุณมีประสบการณ์การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะนำมาพัฒนาเป็นเครื่องมือใด
  2. คุณมีประสบการณ์การดำเนินงานกิจกรรมที่ต้องการพัฒนาเป็นเครื่องมือกับกลุ่มเป้าหมายแล้ว จำนวนกี่คน
  3. เหตุผลในการพัฒนาเครื่องมือของคุณคือ
  4. ชื่อเครื่องมือที่ต้องการพัฒนา
  5. ความโดดเด่น/พิเศษของเครื่องมือคือ (มีการพัฒนาต่อยอดจาก… หรือเป็นเครื่องมือที่คุณพัฒนาเอง)
  6. กลุ่มเป้าหมายโดยตรงของเครื่องมือ คือ
  7. รูปแบบเครื่องมือที่คุณคิดว่าอยากพัฒนาคือ
  8. แบบฝึกหัด worksheet
    เกมการ์ด card game
    คู่มือ Manual/ Guidebook
    อื่นๆ ………….

กรอกใบสมัครเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ - 15 กรกฏาคม 66

4. workshop การคิดไอเดียสร้างสรรค์เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้ 30 กรกฎาคม 2566 9.00 -11.00 น. ทาง Zoom Meeting

image

online workshop นี้สำหรับทีมหรือองค์กรที่เพิ่งเริ่มทำพื้นที่เรียนรู้ หรือต้องการพัฒนาไอเดียกิจกรรมใหม่ๆ ในการสร้างการเล่น การเรียนรู้ หรือการพัฒนาทักษะสำหรับเด็กและเยาวขน

เนื้อหาของ workshop นี้จะใช้เครื่องมือ Creative Idea ที่จะชวนให้แต่ละทีมดึงความเป็นตัวเองมาคิดไอเดียแก้ปัญหาตามข้อมูลที่ได้จากการทำความเข้าใจสถานการณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมถึงการเรียนรู้เคสที่น่าสนใจในการสร้างพื้นที่เรียนรู้ และวิธีการเลือกไอเดีย

กำหนดการ

9.00-9.10 น. แนะนำกระบวนการและกำหนดการ

9.10-9.20 น. แนะนำผู้เข้าร่วม

9.20-9.40 น. การคิดไอเดียเพื่อการสร้างความเปลี่ยนแปลง

9.40-10.10 น. แต่ละทีมคิดไอเดียตามโจทย์ที่ตัวเองสนใจ

10.10-10.40 น. เคสพื้นที่เรียนรู้น่าสนใจ กลยุทธ์การสร้างพื้นที่เรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จ

และการเลือกไอเดีย

10.40-11.00 น.ถามตอบและขั้นตอนต่อไปในการวัดผลกระทบทางสังคม

กรอกใบสมัครเข้าร่วมได้ตั้งแต่วันนี้ - 21 กรกฏาคม 66

5. workshop การเลือกตัวชี้วัดผลกระทบทางสังคมการสร้างพื้นที่เรียนรู้ 23 กันยายน 2566 13.00 -15.00 น ทาง Zoom Meeting

image

online workshop นี้สำหรับทีมหรือองค์กรที่มีโมเดลการทำกิจกรรม หรือการสร้างพื้นที่เรียนรู้ที่ลงตัวแล้ว และอยู่ในช่วงที่เตรียมตัวที่จะขยายผล โดยต้องการวัดผลลัพธ์ของการจัดกิจกรรม ว่าสิ่งที่เราทำไปนั้นตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายตามเป้าหมายที่เราวางไว้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งการเก็บข้อมูลเพื่อวัดผลกระทบทางสังคมจากการสร้างพื้นที่เรียนรู้ นอกจะเป็นข้อมูลและหลักฐานสำคัญในการระดมทุนแล้ว ยังจะทำให้เราเห็นผลลัพธ์จากการทำงานจริงๆ ที่จะทำให้เราได้ทบทวนเป้าหมายของตนเองและประเมินการดำเนินงาน เพื่อปรับกลยุทธ์ และจัดลําดับความสําคัญในการตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้อีกด้วย

เนื้อหาของ workshop นี้จะเน้นตัวอย่างเคสการวัดผลกระทบทางสังคมขององค์กรต่างๆ และตัวชี้วัดต่างๆ ของการพื้นที่เรียนรู้ เพื่อให้แต่ละทีมระบุตัวชี้วัดการสร้างพื้นที่เรียนรู้ของตนเองได้ และนำไปสู่การทำแผนการเก็บข้อมูลเพื่อวัดผลกระทบทางสังคมต่อไป

ทั้งนี้การเข้าร่วม workshop นี้ ผู้เข้าร่วมควรทำ worksheet IVC หรือ worksheet SIA มาแล้ว

กำหนดการ

13.00-13.10 น. แนะนำกระบวนการและกำหนดการ

13.10-13.20 น. แนะนำผู้เข้าร่วม และ Impact Value Chain หรือ Social Impact Assessment ของแต่ละทีม

13.20-13.40 น. การวัดผลกระทบทางสังคมสร้างพื้นที่เรียนรู้ เคสการเลือกตัวชี้วัดที่น่าสนใจ

13.40-14.10 น. เลือกตัวชี้วัดสำหรับงานของแต่ละทีม

14.10-14.40 น. แชร์กับกลุ่มย่อย

14.40-15.00 น. ถามตอบและขั้นตอนต่อไปในการวัดผลกระทบทางสังคม

สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนกรอกใบสมัคร

แผ่นงาน IVC หรือ SIA

  • ดาวโหลดแผ่นงาน IVC เพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่

https://bit.ly/3Psflda

  • ดาวโหลดแผ่นงาน SIA เพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่

https://bit.ly/3qZViZp

*สำหรับทีมในโปรแกรมฯ incubation ต้องทำแผ่นงานนี้ให้เสร็จก่อนเพื่อแคปรูปบน miro. มาใช้อัปโหลดเพื่อสมัครเข้าร่วมกิจกรรม

กรอกใบสมัครเข้าร่วม

วิธีการสมัคร

  • แต่ละกิจกรรมจะมีการเตรียมข้อมูลก่อนเข้าร่วมกิจกรรมโปรดอ่านคำถามและเตรียมตัวก่อนกรอกใบสมัคร
  • สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้มากกว่า 1 กิจกรรม
  • สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ มิน mini@schoolodchangemakers.com

6. Event: ทดลองไอเดียสร้างความยั่งยืนพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน (Prototype Testing Learning Space)

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 10.30-16.30 น.

ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ (ไม่มีออนไลน์)

image

Prototype Testing Learning Space เป็นกิจกรรมสำคัญสำหรับทีมที่กำลังขึ้นต้นแบบทั้งไอเดียและการขยายผลพื้นที่เรียนรู้ เพราะกิจกรรมนี้เป็นการเปิดพื้นที่ให้ทีมในโปรแกรมพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน ได้พบกับกลุ่มเป้าหมายของพื้นที่เรียนรู้ทั้ง ผู้ที่จะมาใช้บริการ หรือผู้ที่จะมาให้การสนับสนุน โดยเราจะชวนผู้ที่สนใจสนับสนุนสร้างความเปลี่ยนแปลงมาร่วมให้ ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนมุมมองต่อไอเดียใหม่ๆ การสร้างและเพิ่มจำนวนพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย

จุดประสงค์ของกิจกรรม

  1. ทีมจากโปรแกรม LSI จำนวน 29 ทีม ร่วมกับโค้ชได้มีพื้นที่ในการทดสอบและรับ feedback ของ Idea และ Prototype กับกลุ่มเป้าหมาย (target)
  2. ทีมจากโปรแกรม LSI ได้สร้างความร่วมมือกับ อปท., ภาคเอกชน และภาคส่วนต่างๆ เพิ่มโอกาสในการหาผู้สนับสนุนการสร้างพื้นที่เรียนรู้ของเรา

กำหนดการ

การทดสอบแบ่งเป็น 2 รอบดังนี้

*ทีมจะได้รับการแจ้งข้อมูลว่าอยู่ในกลุ่ม A หรือ กลุ่ม B ภายในเดือนสิงหาคม

Prototype Testing Learning Space กลุ่ม A

10:30 - 11:00 ลงทะเบียน

11:00 - 11:15 กล่าวต้อนรับเปิดงาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

11:15 - 11:30 แนะนำไอเดียของทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้กลุ่ม A จำนวน 14 ทีม

11:30 - 12:00 ทีมกลุ่ม A เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 1

12:00 - 13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน และผู้สนับสนุนเปลี่ยนทีมเข้าร่วมในรอบที่ 2

13:00 - 13:30 ทีมกลุ่ม A เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 2

13:30 - 14:00 กิจกรรมสร้างเครือข่าย (Networking) เพื่อสนับสนุนทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้

Prototype Testing Learning Space กลุ่ม B

13:00 - 14:00 ลงทะเบียน

14:15 - 14:30 กล่าวต้อนรับเปิดงาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

14:30 - 14:45 แนะนำไอเดียของทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้กลุ่ม B จำนวน 13 ทีม

14:45 - 15:15 ทีมกลุ่ม B เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 1

15:15 - 15:25 ผู้สนับสนุนเปลี่ยนทีมเข้าร่วมในรอบที่ 2

15:25 - 15:55 ทีมกลุ่ม B เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 2

15:55 - 16:25 กิจกรรมสร้างเครือข่าย (Networking) เพื่อสนับสนุนทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ และปิด

Agenda

10:30-16.30 น. รวม 6 ชม.

  1. เปิดงานรอบ A 15 นาที
  2. แนะนำทีมกลุ่ม A 14 ทีม ทีมละ 30 วินาที
    • เราเป็นใคร
    • กำลังแก้ปัญหาอะไร ให้ใคร
    • มีไอเดียอะไร เพื่ออะไร (สร้างความยั่งยืน, ขยายผล)
  3. กลุ่ม A - Testing Round 1 รอบละ 30 นาที
  4. พักทานอาหารกลางวัน 60 นาที
  5. กลุ่ม A - Testing Round 2 รอบละ 30 นาที
  6. Networking + Evaluation + แจ้งความต้องการสนับสนุน/สนใจสร้างพื้นที่เรียนรู้ 30 นาที
  7. พักเบรค เพื่อเปลี่ยนกลุ่ม B 15 นาที
  8. เปิดงานรอบ B 15 นาที
  9. แนะนำทีมกลุ่ม B 13 ทีม ทีมละ 30 วินาที
    • เราเป็นใคร
    • กำลังแก้ปัญหาอะไร ให้ใคร
    • มีไอเดียอะไร เพื่ออะไร (สร้างความยั่งยืน, ขยายผล)
  10. กลุ่ม B - Testing Round 1 รอบละ 30 นาที
  11. ทดเวลาเปลี่ยนรอบ 10 นาที
  12. กลุ่ม B - Testing Round 2 รอบละ 30 นาที
  13. Networking + Evaluation + แจ้งความต้องการสนับสนุน/สนใจสร้างพื้นที่เรียนรู้ 30 นาที
    1. หมายเหตุ:

    2. เพื่อลดการใช้ single use plastic รบกวนผู้เข้าร่วมนำน้ำดื่มส่วนตัวมาเอง
    3. สำหรับผู้ที่เดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว ทางผู้จัดไม่มีการบริการประทับตราจอดรถฟรีให้ ต้องจ่ายค่าจอดรถตามอัตราของทางห้าง (ฟรีสองชั่วโมงแรก ชั่วโมงต่อไป 20 บาท)
    4. หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ panpan@schoolofchangemakers.com (ปัณ)