เข้าร่วมกิจกรรมประจำเดือนกันยายน: Prototype Testing Learning Space

เข้าร่วมกิจกรรมประจำเดือนกันยายน: Prototype Testing Learning Space

image

CM Club ชวนผู้สนใจสนับสนุนสร้างเปลี่ยนแปลงมาร่วมให้ความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนมุมมองต่อไอเดียใหม่ๆ (prototype testing) ในการสร้างและเพิ่มจำนวนพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนในประเทศไทย กับองค์กร และกิจการเพื่อสังคมที่กำลังจะขยายงานการสร้างสรรค์พื้นที่เรียนรู้ฯ ใน CM Club ในครั้งนี้เป็นความร่วมมือของ School of Changemakers ร่วมกับ TK Park และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

กิจกรรมนี้จัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 10.30-16.25 น. TK Park เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ โดยมีทีมสร้างพื้นที่เรียนรู้ 17 ทีม จากโปรแกรมบ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ฯ จะมาแนะนำไอเดียใหม่ ๆ และโมเดลการขยายพื้นที่เรียนรู้ให้เข้าถึงเด็กและเยาวชนไทยโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เพื่อเสริมการเรียนรู้ และสร้างเกราะป้องกันปัญหาต่างๆ ของเด็กและเยาวชนไทย เช่น ปัญหาการเรียนถดถอย เด็กติดจอ ภาวะซึมเศร้า ความเครียดในวัยรุ่น พัฒนาการไม่สมวัย รวมไปถึงการกระทำผิดจนต้องเข้าไปอยู่ในสถานพินิจ

ผู้เข้าร่วมจะได้ร่วมให้ความเห็น เพื่อนำไปปรับไอเดีย และโมเดลให้สามารถเพิ่มจำนวนพื้นที่เรียนรู้ฯ ได้จริง โดยการทดสอบฯ จะจัดเป็น 2 รอบ ผู้เข้าร่วมสามารถเลือกเข้าร่วมได้ตามความสะดวก

ทีมที่จะนำไอเดียมาแลกเปลี่ยนและรับฟังความคิดเห็น ได้แก่

กลุ่ม A (เช้า)

1) โฮมฮัก เชียงของ

2) มูลนิธิไทยอาทร

3) ฟาร์มผาสุข

4) ศูนย์การเรียนรู้ด้วยรัก

5) ชมรมอาสาสมัครสร้างสุข

6) ไร่ลุงรัง

7) มูลนิธินวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม (SIY Foundation)

8) พื้นที่พัฒนาศักยภาพการเล่นอิสระเพื่อเด็กและครอบครัวบ้านเรียนฟักทอง

9) ที่หลบฝน

กลุ่ม B (บ่าย)

1) บ้านไร่อุทัยยิ้ม (สถาบันพัฒนาเยาวชนและชุมชนเพื่ออนาคต)

2) Feel trip

3) ธรรมมือสตูดิโอ

4) Space เล่าเต้งมุมบายใจ

5) พลังโจ๋

6) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโซงเลง

7) Little Wonders 8) กลุ่มใบไม้

👉🏻รู้จักทั้ง 17 ทีมเพิ่มเติมที่นี่

กิจกรรมนี้เหมาะกับใคร

  1. บุคคลทั่วไป ไม่จำกัดอายุ ที่สนใจประเด็นปัญหาสังคม ด้านการศึกษา การพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน อยากมีส่วนร่วมสนับสนุนไอเดียการแก้ปัญหา
  2. ภาคธุรกิจ, ส่วนงาน CSR, สถาบันการศึกษา และหน่วยงานรัฐ ที่สนใจสนับสนุนการสร้างสรรค์พื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน หรือกำลังมองหาความร่วมมือใหม่ๆ

กำหนดการ

รอบที่ 1

10:30 - 11:00 ลงทะเบียน

11:00 - 11:15 กล่าวต้อนรับเปิดงาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

11:15 - 11:30 แนะนำไอเดียของทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้กลุ่ม A จำนวน 9 ทีม

11:30 - 12:00 ทีมกลุ่ม A เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 1

12:00 - 13:00 พักรับประทานอาหารกลางวัน และผู้สนับสนุนเปลี่ยนทีมเข้าร่วมในรอบที่ 2

13:00 - 13:30 ทีมกลุ่ม A เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 2

13:30 - 14:00 กิจกรรมสร้างเครือข่าย (Networking) เพื่อสนับสนุนทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้

รอบที่ 2

13:00 - 14:00 ลงทะเบียน

14:15 - 14:30 กล่าวต้อนรับเปิดงาน วัตถุประสงค์ของกิจกรรม

14:30 - 14:45 แนะนำไอเดียของทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้กลุ่ม B จำนวน 8 ทีม

14:45 - 15:15 ทีมกลุ่ม B เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 1

15:15 - 15:25 ผู้สนับสนุนเปลี่ยนทีมเข้าร่วมในรอบที่ 2

15:25 - 15:55 ทีมกลุ่ม B เล่าไอเดีย ทดลองไอเดีย และฟังคำแนะนำจากผู้สนับสนุน รอบที่ 2

15:55 - 16:25 กิจกรรมสร้างเครือข่าย (Networking) เพื่อสนับสนุนทีมพัฒนาพื้นที่เรียนรู้ และปิดกิจกรรม

กิจกรรมจะเริ่มตรงเวลา หากมาสายเกิน 30 นาที จะไม่สามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้

*กิจกรรมมีทั้งหมด 2 รอบสามารถเลือกเข้าร่วม 1 หรือ 2 รอบ ตามความสะดวกของผู้เข้าร่วม

วันเวลา สถานที่

วันเสาร์ที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 10.30-16.25 น.

ศูนย์การเรียนรู้อเนกประสงค์ อุทยานการเรียนรู้ TK Park ชั้น 8 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ (ไม่มีออนไลน์)

กรุณาเผื่อเวลาในการเข้าใช้พื้นที่ TK Park (ดูรายละเอียดการเข้าพื้นที่ ที่หมายเหตุด้านล่าง)

วิธีการสมัครเข้าร่วม

กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม และรับผู้เข้าร่วม 80 คน

สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – วันที่ 10 กันยายน 2566

ประกาศผลผ่านทางอีเมลล์ ภายในวันที่ 11 กันยายน 2566

หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ panpan@schoolofchangemakers.com (ปัณปัณ)

สมัครที่นี่

พื้นที่เรียนรู้ (Learning Space) คือ ?

พื้นที่ที่สามารถสร้างการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม มุ่งขับเคลื่อนการเรียนรู้โดยให้ความสําคัญของเด็กเป็นศูนย์กลาง กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ ลงมือทํา ปฏิบัติการเป็นหลักและอาศัยเครื่องมือ สื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เรียนรู้แต่ละกลุ่ม มีผู้อํานวยการเรียนรู้ (facilitator) ไม่ใช่แค่ผู้สอน (teacher) พื้นที่เรียนรู้อาจเป็นสถานศึกษา หรือแหล่งเรียนรู้ในชุมชนก็ได้

พื้นที่เรียนรู้สำคัญ?

ปีการศึกษา 2562 นักเรียนไทย 7.3 ล้านราย เกินครึ่งมีปัญหาความยากจน รายได้กลุ่มนักเรียนยากจนเฉลี่ย 1,268 บาทต่อครัวเรือน พบนักเรียนอีก 4.5 พันรายไม่มีโรงเรียนในตำบลที่พักอาศัยอยู่ (ที่มา: ThaiPublica) ทำให้นักเรียนกว่า 1 ล้านคนอยู่นอกระบบการศึกษา รวมไปถึงปัญหาการอพยพตามผู้ปกครอง ไม่มีสัญชาติ มีความเสียเปรียบทางกายภาพ (เป็นผู้พิการหรือมีความต้องการพิเศษ) และมีปัญหาส่วนตัว เช่น แม่วัยใส ติดยาเสพติด หรือถูกจับ ต้องคดี เป็นต้น

หากไม่มีพื้นที่เรียนรู้ที่ใกล้ตัวเด็กมากพอเพื่อเป็นทางเลือก และโอกาสในการพัฒนาศักยภาพให้กับเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการที่หลากหลาย จะทำให้เด็กเหล่านี้ขาดโอกาสเข้าเรียน หรือเข้าเรียนแล้วต้องออกจากสถานศึกษาไปกลางคัน และไม่ได้กลับเข้ามาเรียนอีก ทำให้พวกเขาไม่ได้รับการพัฒนาศักยภาพตนเอง การมีพื้นที่เรียนรู้ที่มุ่งเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อเด็กและเยาวชนที่มีความหลากหลาย จึงมีความสำคัญ และเป็นประโยชน์ต่อสังคมในระยะยาว เพราะศักยภาพเหล่านี้จะส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีพัฒนาการตามช่วงวัยที่ดี ช่วยพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นสมาชิกที่มีคุณภาพที่ดีของผู้คนที่รายล้อม (บ้าน เพื่อน โรงเรียน ชุมชน) สิ่งเหล่านี้ช่วยบ่มเพาะระหว่างเส้นทางการเติบโตของพวกเขาจนเป็นผู้ใหญ่ที่มีทักษะชีวิต ทักษะสุขภาพที่ดี

สถานการณ์ปัจจุบัน?

ในขณะนี้มีนักเปลี่ยนแปลงที่มุ่งมั่นในการสร้างพื้นที่เรียนรู้กระจายอยู่ทั่วประเทศ ส่วนหนึ่งเป็นพื้นที่เรียนรู้ที่เกิดจากการดําเนินงานของ สสส. สำนักสนับสนุนสุขภาวะเด็ก เยาวชน และครอบครัว แต่ยังมีจำนวนไม่มากพอที่จะอำนวยให้เด็กและเยาวชนไทยเข้าถึงได้ง่ายและต่อเนื่อง เหตุจากปัญหาเรื่องความยั่งยืน ทุนสนับสนุน

School of Changemakers จึงร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดโปรแกรมบ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ (Learning Space Incubation) ขึ้นเพื่อบ่มเพาะองค์กรหรือโครงการที่กำลังทำงานสร้างสรรค์พื้นที่เรียนรู้ ให้มีความสามารถในการขยายผลกระทบและสร้างความยั่งยืน

กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมบ่มเพาะฯ มีจุดประสงค์เพื่อช่วยผู้ที่สนใจปัญหาด้านการศึกษา การพัฒนาเด็กและเยาวชน เข้าร่วมทดลองไอเดียสร้างความยั่งยืนและขยายผลพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน (Prototype testing Learning Space) จากทีมในโปรแกรมบ่มเพาะพื้นที่เรียนรู้ ซึ่งเป็นการทดลองไอเดียกับกลุ่มเป้าหมาย (หรือใกล้เคียง) เพื่อเรียนรู้จุดอ่อนจุดแข็งของไอเดีย และนำเอาผลตอบรับมาปรับแก้ และทดลองทำซ้ำให้มากที่สุดโดยใช้ทุนให้น้อยที่สุด (Lean) ผู้เข้าร่วมทดสอบจะได้ฝึกทักษะความเข้าอกเข้าใจ (Empathy) ในปัญหาหรือกลุ่มเป้าหมาย และแลกเปลี่ยนคำแนะนำ สิ่งที่ได้เรียนรู้ ให้นักสร้างการเปลี่ยนแปลงก่อนลงสนามทดลองจริง