ขั้นตอนการออกแบบตัวชี้วัดสำหรับพื้นที่เรียนรู้
- เลือกตัวชี้วัดจากตัวชี้วัดกลางของ สสส. สำนัก 4 ซึ่งครอบคลุมเป้าหมายการทำงานสร้างสรรค์พื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชน 3 ด้าน ได้แก่
- หากพื้นที่เรียนรู้สำหรับเด็กและเยาวชนของเรามุ่งสร้างการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ หรือมีกลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ที่นอกเนื่องจากแบบประเมินกลางของ สสส. ทีมสามารถลองออกแบบตัวชี้วัดตามหลักกการด้านบน โดยมีตัวอย่างตัวชี้วัดจาก set social implact ที่อาจนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในโครงการของเรา
- ระหว่างออกแบบตัวชี้วัดเกิดความสับสน ให้ลองย้อนกลับไปที่จุดตั้งต้น (Theory of Change) ของเราว่าเราอยากได้ผลลัพธ์หรือมีวิสัยทัศน์อะไร อยากเห็นความเปลี่ยนแปลงด้านใด แล้วกลับไปปรับกิจกรรมที่ช่วยให้เกิดเป้าหมายที่ตั้งไว้ หรืออาจเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ หากเราไม่สามารถออกแบบตัวชี้วัดได้
- จัดทำแผนการประเมินผลกระทบทางสังคมด้วย Worksheet SIA
ตัวอย่างตัวชี้วัดจากโครงการโรงเรียนแห่งอนาคต
Goal | Activity | Indicator | Stakeholder | Feedback |
ผู้เรียนเห็นความสำคัญของอาชีพในชุมชน | 1. จัดการเรียนการสอนวิชาทักษะอาชีพให้กับนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 จำนวน 75 คน โดยวิทยากรในชุมชนร่วมกับครูผู้สอนในโรงเรียน
2. จัดกิจกรรมตลาดนัดโรงเรียนให้ผู้เรียนได้แสดงออกถึงความสามารถในที่สาธารณะ | 1. อัตราการเข้าเรียนด้วยตัวเอง
2. จำนวนนักเรียนที่รู้สึกชอบในการเรียน
3. จำนวนผู้เรียนที่ได้แสดงออกถึงความสามารถของตนเองในที่สาธารณะ | ผู้เรียน | 1. อัตราการเข้าเรียน 95.62 % เพิ่มขึ้น 2.28 %
2. จำนวนนักเรียนที่ชอบในการเรียน จากการตอบแบบสอบถาม คิดเป็น 100 %
3. จำนวนนักเรียนที่ได้เข้าร่วมงานตลาดนัดโรงเรียน คิดเป็น 100% |
ผู้เรียนมีความสามารถในการประกอบอาชีพในชุมชน | 1. จัดการเรียนการสอนวิชาทักษะอาชีพให้กับนักเรียนชั้น ม.1-ม.3 จำนวน 75 คน โดยวิทยากรในชุมชนร่วมกับครูผู้สอนในโรงเรียน
2. มอบหมายให้ผู้เรียนจัดทำชิ้นงานที่มีคุณภาพจากวิชาทักษะอาชีพ
3. ติดตามผลผู้เรียนที่ได้นำความรู้ไปใช้หลังจากจบการเรียนการสอนแล้ว | 1. จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ตามที่ผู้สอนคาดหวัง
2. จำนวนผู้เรียนที่สามารถทำได้ตามที่ผู้สอนคาดหวัง
3. จำนวนผู้เรียนที่ได้นำความรู้ไปต่อยอดหลังกิจกรรม | ผู้เรียน | 1. จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ 570 ชิ้น คิดเป็น 7.6 ชิ้นงานต่อคน เป็นไปตามที่ผู้สอนคาดหวัง
2. จำนวนผู้เรียนที่ทำได้ คิดเป็น 95 %
3. จำนวนผู้เรียนที่นำความรู้ไปต่อยอดหลังกิจกรรม จำนวน 9 คน คิดเป็น 12 % |
เพิ่มเติม : แนะนำแบบประเมินด้านต้นทุนชีวิตเพิ่มเติมจากทีมเด็กพลัส
อ้างอิง
https://www.setsocialimpact.com/
โครงการโรงเรียนแห่งอนาคต โรงเรียนบ้านน้ำเค็ม จ.พังงา