สถานการณ์ปัญหา : ขยะในประเทศไทย

ปัญหาขยะมูลฝอย (หมายถึง ขยะทั่วไปที่เกิดจากการอุปโภค บริโภค กิจกรรมทั้งหลายของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเรือน ชุมชน ตลาด ร้านค้า และโรงงาน) ในประเทศไทยถือเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่สำคัญที่เกิดขึ้นจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่ง มีปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น พฤติกรรมการบริโภคและการแยกขยะจากต้นทาง การจัดการขยะที่ไม่ได้มาตรฐานก่อให้เกิดมลพิษและไม่เกิดการนำกลับมาใช้ซ้ำ ปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อม เช่น ปฏิกิริยาเรือนกระจกที่มีสาเหตุจาก ขยะเทกอง ที่ปล่อยก๊าซมีเทน ซัลเฟอร์กับคาร์บอนไดออกไซต์ออกมา ปัญหาขยะในทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมและชีวิตความเป็นอยู่ของสัตว์ในทะเล เป็นต้น

สถานการณ์ปัจจุบัน

ประเทศไทยมีปริมาณขยะสูงขึ้นต่อเนื่องขึ้นทุกปี จากรายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559¹ พบว่ามีปริมาณการเกิดขยะรวมกันทั้งประเทศ 27.06 ล้านตันต่อปี เทียบเท่าตึกใบหยก 2 จำนวน 140 ตึก คิดเป็นประมาณ 74,130 ตันต่อวัน เฉลี่ยเป็นปริมาณขยะ 1.14 กิโลกรัมต่อคนต่อวัน  ยังไม่รวมขยะตกค้างสะสมที่เพิ่มขึ้นทุกปีไม่ต่ำกว่าปีละ 10 ล้านตัน

image

ขยะมูลฝอยสามารถแบ่งแยกตามประเภทได้ทั้งหมด 4 ประเภท โดยมีสัดส่วนดังนี้ (ปี 2559)

  1. ขยะอินทรีย์ หรือขยะที่ย่อยสลายได้ คิดเป็นร้อยละ 64 จากขยะทั้งหมด ส่วนใหญ่มาจากอาหารเหลือทิ้ง
  2. ขยะรีไซเคิล เป็นที่ขยะสามารถนำมาหลอมใช้ใหม่ได้หากมีการแยกขยะอย่างถูกต้องและทำความสะอาดก่อนทิ้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30 ของขยะทั้งหมด
  3. ขยะทั่วไป เป็นย่อยสลายตามธรรมชาติได้ยาก หรือนําไปรีไซเคิลแล้วไม่คุ้มทุน ต้องนำไปกำจัด ได้แก่ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก ร้อยละ 3 ของขยะทั้งหมด
  4. ขยะอันตราย เป็น ขยะที่ต้องนําไปกําจัดหรือบําบัดด้วยวิธีเฉพาะ เช่น หลอดไฟ ขวดยา ถ่านไฟฉาย ยาฆ่าแมลง กระป๋องสี ขยะจากภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3

จากแหล่งกำเนิดขยะสู่การจัดการ

จากข้อมูลจะเห็นได้ว่าถึงแม้ประเทศไทยจะมีความพยายามในการรีไซเคิลและกำจัดขยะอย่างถูกต้องมากขึ้น แต่แนวโน้มปริมาณขยะในแต่ละปีเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน นอกจากนี้ปริมาณขยะกว่าครึ่งยังถูกกำจัดอย่างไม่ถูกวิธี

ที่มา : รายการสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี 2559 กรมควบคุมมลพิษ
ที่มา : รายการสถานการณ์ขยะมูลฝอยในประเทศไทย ปี 2559 กรมควบคุมมลพิษ

ในปี 2558 รัฐบาลไทยได้ตรวจสอบเพื่อปรับปรุงสถานที่กำจัดขยะขององค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ 7,777 แห่ง2พบว่ามีเพียง 328 แห่งหรือไม่ถึง 5% ของสถานที่กำจัดทั้งหมดเท่านั้นที่สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์และกำจัดได้อย่างถูกต้อง  ปริมาณขยะที่ถูกกำจัดอย่างถูกต้องจากสถานที่เหล่านี้คิดเป็นร้อยละ 26.34 ของปริมาณขยะเกิดใหม่รวมกับขยะตกค้างทั้งหมด และขยะที่เหลือกว่า 73.26% นั้นถูกกำจัดด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง เกิดสภาพเทกอง เผากลางแจ้ง เผาในเตาที่ไม่มีระบบกำจัดมลพิษทางอากาศ และฝังหลบแบบเทกองควบคุม หรือไม่ถูกจัดการเลย

อุปสรรค์ของการกำจัดขยะให้ถูกวิธี เช่น งบประมาณในการทำสถานที่กำจัดขยะแบบถูกต้องมีค่าใช้จ่ายสูง มีขั้นตอนและเกี่ยวข้องกับคนหลายฝ่าย ทั้งในแง่ของการมาตรฐานการกำจัด และการขออนุญาตให้ถูกต้อง การหาพื้นที่ที่เหมาะสม การเตรียมพื้นที่ การดูแลผลกระทบที่เกิดขึ้นจากขยะและคนในชุมชนใกล้เคียง3 จุดคุ้มทุนของการลงทุนระบบเนื่องจาก เตาเผาขยะ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง หากแต่บางที่เปิดไปสักพักต้องปิด เพราะไม่มีจำนวนขยะ “ดี” เพียงพอเอามาเปลี่ยนเป็นพลังงานหรือไฟฟ้า เป็นต้น

ภาพจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ภาพจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

นโยบายและการมีส่วนร่วมของภาครัฐและเอกชน

image

ปัจจุบัน แนวคิดในการจัดการขยะมีจำนวนมาก ตั้งแต่ 3R ไปจนถึง 7R ตามความเหมาะสมของแต่ละบริบทของพื้นที่ ซึ่งแนวคิดการจัดการขยะที่สากลนิยมใช้ คือ 4R4 โดยเรียงลำดับตามความสำคัญเริ่มจาก Reduce การลดปริมาณขยะจากต้นทาง Reuse การใช้ซ้ำ Recycle การนํากลับมาใช้ใหม่ ตามด้วย Recovery หรือ การแปรรูปเป็นพลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า และจบที่ Landfill ซึ่งเป็นการจัดการปลายทางด้วยการฝังดินอย่างถูกต้อง

ส่วนการจัดการขยะของประเทศไทย รัฐบาลได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาขยะโดยใช้แนวคิด 3R คือ Reduce Reuse และ Recycle  โดยจัดทำ Roadmap จัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 เพื่อเป็นกรอบและทิศทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะ โดยวางโครงสร้างให้ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนร่วมกันจัดการปัญหา แบ่งเป็น 4 มาตรการ คือ

1. แก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยเก่าตกค้างสะสม

2. สร้างรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยใหม่

3. วางระเบียบและมาตรการการบริหารจัดการขยะมูลฝอย และ

4. การสร้างวินัยคนในชาติ

ส่วนภาคเอกชน เองเริ่มรณรงค์คัดแยกขยะในองค์กร นำส่วนที่ยังใช้ประโยชน์ได้ไปรีไซเคิลหรือจำหน่าย ช่วยกันฝังกลบขยะอินทรีย์ให้ย่อยสลายเองตามธรรมชาติหรือทำปุ๋ย ส่วนที่เหลืออยู่ใช้วิธีเผาทำลายด้วยเตาเผาขยะเทคโนโลยีสูงที่มีระบบควบคุมอากาศ โดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า น้ำมัน หรือแก๊ส อีกทั้งยังมีการหารือเพื่อตั้งเป้าหมายที่จะลดขยะที่มีอยู่ในทะเลลงกว่า 50% ภายในปี 25705

ผลกระทบ

เมื่อขยะมากกว่าครึ่งถูกกำจัดด้วยกระบวนการที่ไม่ถูกต้องจึงนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพ ปัญหาเศรษฐกิจ และที่สำคัญ ปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อม

ภาพจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร
ภาพจาก มูลนิธิสืบนาคะเสถียร

ผลกระทบหนึ่งต่อสุขภาพจากการไม่แยกขยะและไม่มีการจัดการพื้นที่เทกองให้ถูกต้อง มีได้ตั้งแต่จากการการรับสารเจือปนตั้งแต่ที่เป็นเชื้อโรค ไมโครพลาสติก (พลาสติกขนาดเล็กมากๆ ที่แตกจากการย่อยสลายไม่สมบูรณ์) และสารเคมีอันตราย อย่างสารตะกั่วและโลหะหนักในขยะอิเลกทรอนิกส์ซึมลงดินและย้อนกลับมาหาคนและสัตว์ในผัก อาหารทะเล เนื้อสัตว์ รวมถึงน้ำ และยังเป็นสาเหตุที่ทำให้สัตว์ทะเล 5-10% พิการ6 จากการกินพลาสติกเข้าไป และเสียชีวิต ตามที่เป็นข่าวดังตลอดหลายปีที่ผ่านมา7

ประเทศไทย เป็นประเทศที่มีขยะในทะเลมากที่สุดเป็นอันดับ 6 โดยมีขยะในทะเลกว่า 11.47 ล้านตัน ซึ่ง 80% มาจากขยะบนบก ข้อมูลจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งพบว่า ขยะที่พบในทะเลกว่าครึ่งเป็นขยะพลาสติก

image

นอกจากนี้ การกำจัดขยะที่ไม่ถูกวิธี เผาโดยไม่มีการควบคุม ก่อให้เกิดสารไดออกซิน สร้างมลพิษในดิน อากาศ ทั้งในรูปแบบฝุ่นละออง ก๊าซพิษ และกลิ่นไม่พึงประสงค์ ทำให้เป็นอันตรายต่อผู้คนทั่วไปที่สูดดมหรือสัมผัส ข้อมูลจากสำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ระบุว่าพนักงานเก็บขยะที่ต้องอยู่กับแหล่งสะสมเชื้อโรคเป็นเวลานานกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ป่วยบ่อยกว่าคนทั่วไป 10-15%9 โดยต้องเสี่ยงต่ออันตรายหลายรูปแบบ ทั้งถูกของมีคมบาดจนอาจเกิดแผลติดเชื้อและบาดทะยัก อันตรายจากเชื้อโรคในกระดาษชำระ ถุงยางอนามัย ผ้าอนามัย เศษอาหารเน่าบูด และซากสัตว์ โดยโรคภัยจากขยะที่เกิดบ่อยได้แก่ โรคระบบทางเดินอาหาร ท้องร่วง โรคจากการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ คลื่นไส้อาเจียนปวดศีรษะ และโรคมะเร็ง เป็นต้น10

ในด้านการสูญเสียทางเศรษฐกิจนั้น รัฐบาลไทยใช้งบประมาณในการจัดการขยะมากถึง 13,000 ล้านบาท/ปี โดยในจำนวนนี้ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายในการรักษาเมื่อเกิดโรค รวมทั้งการจัดการดินเสียและน้ำท่วมจากการอุดตันของขยะ11

ประเด็นที่น่าสนใจ

  • คนส่วนหนึ่งไม่เห็นประโยชน์ที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ไม่ได้เห็นผลอย่างชัดเจนว่าการแยกขยะและทำความสะอาดก่อนทิ้งนั้นสำคัญอย่างไร จากผลสำรวจของชีวจิตโพลโครงการ 6 ระบุว่า คนไทยสูงถึง 92.3% รู้ว่าขยะที่ทิ้งก่อให้เกิดโรคแต่ไม่ทราบว่าขยะนั้นส่งผลต่อร่างกายและทำให้เกิดโรคภัย
  • การแยกขยะก็ยังจำกัดอยู่ในวงแคบ และสิ่งอำนวยความสะดวกในการทิ้งอย่างถูกต้องก็หายาก เช่น ไม่มีถังแยกขยะตามประเภท ระบบแยกขยะมีหลายระบบ ป้ายไม่ชัดเจน
  • ในยุคอุตสาหกรรม มีการวางแผนการตลาดที่กระตุ้นให้คนบริโภคในปริมาณมากและถี่ ด้วยสินค้าใหม่ โปรโมชั่นต่างๆ ราคาที่ถูก (แต่อายุการใช้งานน้อย) มีค่าใช้จ่ายในการซ่อมที่แพงกว่าซื้อใหม่ ทำให้พฤติกรรมและแนวคิดการใช้ของของคนในปัจจุบันเปลี่ยนไป ตั้งแต่อาหาร (1ใน 3 ของอาหารที่ผลิตทั่วโลกกลายเป็นขยะ[12]) เสื้อผ้า (จากที่ต้องรอคอลเลคชั่นใหม่ปีละ 2 ครั้งตามฤดูกาล ปัจจุบันห้างร้านเสื้อผ้าชั้นนำส่งคอลเลคชั่นใหม่ๆ เข้าร้าน 2 ครั้งต่อสัปดาห์[13]) หนังสือ เฟอร์นิเจอร์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำให้หลายคนเลือกที่ทิ้งแล้วซื้อของใหม่มากกว่าซ่อม
  • ในกรุงเทพมหานครไม่มีปัญหาขยะตกค้าง เพราะมีข้อบังคับในสัมปทาน ว่าห้ามมีขยะตกค้างในพื้นที่ เพราะฉะนั้น บริษัทที่รับสัมปทาน จึงไม่มีเวลาคัดแยกต้องรีบนำไปฝังกลบทันที การคัดแยกขยะจากต้นทางจึงมีส่วนช่วยลดปริมาณขยะที่จะถูกนำไปฝังกลบได้ ในขณะเดียวกันจังหวัดเล็กๆ ส่วนมากจะพบปัญหาขยะที่ไม่ถูกจัดการอย่างถูกต้อง
  • ประเทศไทยสามารถจัดเก็บค่าจัดการขยะได้เพียง 2300 ล้านบาทจากค่าใช้จ่ายทั้งหมด 13,000 ล้านบาทต่อปี[14] เนื่องจากเก็บเงินจากประชาชนไม่ได้และค่าใช้จ่ายที่เรียกเก็บมิได้สะท้อนค่าใช้จ่ายจริงในการจัดการขยะ ขณะเดียวกันประชาชนต้องการความโปร่งใสและการชี้แจงแนวทางการบริหารใช้งบประมาณจัดขยะของรัฐเช่นกัน
    1. Case การแก้ไขปัญหา

    2. รุ่งอรุณ โรงเรียน Zero-Waste แยกขยะครบวงจร
    3. image

      เมื่อ 10 ปีที่แล้ว โรงเรียนรุ่งอรุณประสบปัญหาขยะเพราะทิ้งขยะทุกชนิดกว่า 200 กิโลกรัมต่อวัน รวมกัน ทำให้เกิดน้ำเน่า เป็นที่มาสัตว์ไม่พึงประสงค์และแหล่งเชื้อโรค สร้างมลพิษและมลภาวะให้แก่โรงเรียน อาจารย์กลุ่มหนึ่งจึงหาทางแก้ปัญหาโดยการเริ่มสร้างระบบและโรงแยกขยะขึ้น ‘เปลี่ยนขยะเป็นทรัพยากร’ มีการนับสถิติปริมาณขยะของแต่ละชั้นเพื่อประเมินหากมีขยะมากเป็นพิเศษ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อมุ่งสู่ชุมชน Zero Waste และทำให้ลดปริมาณขยะจาก 200 กิโลกรัมต่อวันเหลือ 29 กิโลกรัมต่อวันในปีถัดไป

    4. Refill Station ปั๊มน้ำยา กระบวนการการจ่ายตลาดแบบใหม่ที่ไม่สร้างพลาสติกเพิ่ม
    5. image

      กลุ่มเพื่อน แอน แพร์ และน้ำมนต์สนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมและเห็นปัญหาพลาสติกล้นเมือง จึงเกิดไอเดียว่าจะเปิดร้านค้าแบบเติม (Bulk Store) แบบในต่างประเทศ เพื่อเป็นช่องทางหนึ่งในการใช้ชีวิต Zero Waste ให้กับคนไทย พวกเขาเริ่มจากการตั้งโต๊ะทดลองแบ่งขายสบู่และน้ำยาต่างๆ ที่ตลาด และนำเสียงตอบรับมาพัฒนา

      Refill Station เปิดเป็นร้ายขายสินค้าลดบรรจุภัณฑ์ที่ให้ลูกค้านำภาชนะมาเติมเองเต็มรูปแบบ โดยมีสบู่ แชมพู ครีมนวด โลชั่น ยี่ห้อทั่วไปจนถึงผลิตภัณฑ์ออแกนิก ควบคู่กับอุปกรณ์ที่ช่วยลดขยะพลาสติก เช่น หลอดดูดน้ำซิลิโคน/หลอดไม้ แปรงทำความสะอาดหลอด แปรงสีฟันไม้ไผ่ กล่องข้าวและขวดน้ำซิลิโคนพับได้ รวมทั้งถุงผ้าช็อปปิ้งตะข่าย ชาต่างๆ ถั่ว เครื่องปรุงต่างๆ เป็นต้น

    6. การจัดการขยะรัฐบาลไต้หวัน
    7. ภาพจาก MGR Online
      ภาพจาก MGR Online

      ในเพียงเวลาไม่กี่ทศวรรษ ไทเปและประเทศไต้หวันกลายมาเป็นต้นแบบของโลกในการจัดการขยะ ผ่านความร่วมมือจากภาครัฐส่วนกลางและประชาชน ผ่านการอำนวยความสะดวกในการแยกขยะควบคู่ไปกับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยประชาชาจะต้องซื้อถุงขยะจากเทศบาลเพื่อเป็นการเก็บเงินค่าจัดการขยะ และเปลี่ยนการเก็บขยะจากการนำขยะไปทิ้งที่ถัง เป็นการนำขยะมาทิ้งที่รถขนขยะแต่ละสีตามประเภทของขยะด้วยตัวเองในเวลาที่กำหนด โดยไม่สามารถทิ้งปะปนได้เลย

      ปัจจุบันรัฐบาลไต้หวันประกาศห้ามร้านค้าทั่วประเทศให้ถุงพลาสติกและหลอดพลาสติกแก่ลูกค้าเพื่อเป็นการลดการสร้างขยะแต่ต้นทาง และสามารถนำขยะกว่าร้อยละ 55 จากเดิมร้อยลพะ 5.9 มาใช้ใหม่ได้ ลดปริมาณขยะต่อคนได้เกือบสามเท่า จาก 1.14 กิโลกรัม ต่อคนต่อวันในปี 1998 ลงเหลือ 0.38 กิโลกรัมในปี 2015

      อ้างอิง

    8. รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย ปี 2559 (กุมภาพันธ์ 2560) สํานักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
    9. แผนแม่บท การบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ พ.ศ. 2559 – 2564 กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม
    10. “ปองพล สะสมทรัพย์” ทายาทรุ่น 3 “กลุ่ม 79” เจ้าพ่อขยะกรุงเทพฯ เล่าเรื่องขยะ ที่มากกว่าขยะ (4 สิงหาคม 2558) Thaipublica
    11. 2017 NYC Reuse Sector Report (2018) New York City Department of Sanitation
    12. รัฐ-เอกชน-ประชาสังคมจับมือจัดการพลาสติกและขยะ (6 มิถุนายน 2561) มติชนออนไลน์
    13. ชีวิตสัตว์ทะเลพิการ เหยื่อขยะพลาสติก (5 มิถุนายน 2561) ThaiPBS
    14. รวมสัตว์โลกหลากชนิด สังเวยชีวิตจากขยะ (5 มิถุนายน 2561) ThaiPBS
    15. Jambeck, J. R., et al. “Marine Pollution”. Plastic Waste Inputs from Land into the Ocean. Vol. 347, pp. 768–771.
    16. คนเก็บขยะกทม. ป่วยบ่อยกว่าคนปรกติ15% (13 มิถุนายน 2558) เดลินิวส์
    17. สุขภาพคนเก็บขยะ เนื่องจากไม่มีการคัดแยกขยะ (30 มิถุนายน 2556) ThaiPBS
    18. “ขยะ-ไขมันล้น ท่อระบายน้ำแทบใช้การไม่ได้” สาเหตุสำคัญน้ำท่วมกรุงเทพฯ (14 มิถุนายน 2560) โพสต์ดูเดย์
    19. วิกฤตขยะจากอาหาร แก้ด้วย ‘จากฟาร์มถึงโต๊ะอาหาร’ (14 เมษายน 2561) โพสต์ดูเดย์
    20. แฟชั่นล้ำ ขยะล้น (8 ตุลาคม 2559) ทีมข่าวเสาร์สวัสดี กรุงเทพธุรกิจ
    21. ร่างกฎหมายฉบับใหม่ หน้าที่คนไทยร่วมใจจัดการขยะ
    22. อ่านบทความอื่นๆ

      สถานการณ์ปัญหา : สุขภาพจิตวัยรุ่น
      สถานการณ์ปัญหา : ขยะในประเทศไทย
      สถานการณ์ปัญหา : การกลั่นแกล้งกันของเด็กและเยาวชน (Bullying)
      Theory of Change ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลง
      นวัตกรรม คือ อะไร?
      Prototype : วิธีแปลงไอเดียให้เป็นรูปเป็นร่างแบบติดจรวด
      Effective Communicating การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
      Active Listening การฟังเชิงรุก
      Assumption Mapping เลือกสมมติฐาน หาจุดตั้งต้นการทดสอบ
      Dream it Do it!!! เมื่อเราเห็นปัญหาสังคมแล้วอยากลุกขึ้นมาเริ่มลงมือทำ
      Impact Value Chain (IVC) เครื่องมือช่วยมองภาพรวมการแก้ปัญหา
      How Might We คืออะไรและเขียนอย่างไร
      What is Insight? ข้อมูลเชิงลึกของปัญหาคืออะไร และสำคัญอย่างไร?
      สถานการณ์ปัญหา : รัฐสวัสดิการกับการแก้ปัญหาสังคม ตอนที่ 2
      สถานการณ์ปัญหา : รัฐสวัสดิการกับการแก้ปัญหาสังคม ตอนที่ 1
      สถานการณ์ปัญหา : เด็กออกกลางคัน
      สถานการณ์ปัญหา : เด็กไม่เรียนต่อ
      สถานการณ์ปัญหา : เด็กไม่ได้เข้าเรียน
      เริ่มต้นออกแบบตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลกระทบทางสังคม
      ทำความรู้จักการวัดผลกระทบทางสังคม SIA
      มองรอบด้านเพื่อวิเคราะห์โอกาสและความเสี่ยง (Oppotunity&Threat)
      สถานการณ์ปัญหา : ภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution) ตอนที่ 2
      สถานการณ์ปัญหา : ภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution) ตอนที่ 1
      Insight : Mental Health at Work ปัญหาสุขภาพจิตในที่ทำงาน